ความซื่อสัตย์
ความหมาย ประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง
ข้อคิด “ซึ่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”
“ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมของคนดี”
“อย่าทำให้ผู้อื่นหมดความไว้วางใจในตัวเรา”
“สายตาที่สื่อถึงความจริงใจ คือพลังแห่งมิตรภาพ”
ประโยชน์ของการมีความซื่อสัตย์
1.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
2.เป็นคนเปิดเผย จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
3.เสริมสร้างให้ตัวเองเป็นคนกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
4.เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น
5.ชีวิตมีความสุข
โทษของการไม่มีความซื่อสัตย์
1.ชีวิตและหน้าที่การงานไม่ประสบความสำเร็จ
2.ถูกมองเป็นคนขี้โกง ทุจริต ไม่มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น
3.ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
4.อาจหันไปประกอบอาชีพทุจริต ทำผิดกฎหมาย
เนื้อหาในพระคัมภีร์
“พระองค์ทรงสะสมสติปัญญาไว้ให้คนเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเป็นโล่ให้แก่ผู้ที่ดำเนินในความซื่อสัตย์” ( สภษ 2 : 7 )
“อย่าให้ความจงรักภักดี และความซื่อสัตย์ทอดทิ้งเจ้า จงผูกมันไว้ที่คอของเจ้าจงเขียนมันไว้ที่แผ่นจารึกแห่งหัวใจของเจ้า” ( สภษ 3 : 3 )
“คนที่สัตย์ซื่อในของเล็กน้อยจะสัตย์ซื่อในของมากด้วย และคนที่อสัตย์ในของเล็กน้อย จะอสัตย์ในของมากเช่นกัน” ( ลก 16 : 10 )
“เพราะเรามุ่งที่จะเป็นคนสัตย์ซึ่อ มิใช่เฉพาะแต่ในสายพระเนตรองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แต่ในสายตาของคนทั้งปวงด้วย” ( 2 คร 8 : 21 )
“ต้องเป็นคนเอาการเอางาน ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น เป็นคนรู้จักประมาณตน และเป็นคนสัตย์ซึ่อในประการทั้งปวง” ( 1 ทธ 3 : 11 )
“สอนให้เราละทิ้งความอธรรมและโลกีย์ตัณหา และดำเนินชีวิตในยุคนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะ สัตย์ซื่อสุจริตและตามคลองธรรม” ( ทต 2 : 12 )
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555
กล้ามเนื้อของปลา
ระบบกล้ามเนื้อ(Muscular System) นอกจากเป็นโครงของร่างกายแล้ว กล้ามเนื้อมีความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการเคลื่อนไหว ว่ายน้ำของปลา กล้ามเนื้อของปลาไม่มีความสลับซับซ้อนเหมือนในสัตว์บก แต่มีต้นกำเนิดและโครงสร้างคล้ายกัน โดยแบ่งกล้ามเนื้อตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ
- กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ใต้การควบคุมของจิตใจ (Involuntary Muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อของท่อทางเดินอาหาร อวัยวะภายใน ถุงลม ระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตาช่วยในการเคลื่อนไหวเลนส์ และระบบทางเดินโลหิต
- กล้ามเนื้อหัวใจ (Heart Muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายที่ไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมของจิตใจ
- กล้ามเนื้อลาย (Striated หรือ Skeleton Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูก อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ (Voluntary Muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อทั่วๆ ไป ซึ่งทำงานสัมพันธ์กับโครงกระดูก เช่น กล้ามเนื้อลำตัว จะมีการยืดหดสลับกันไปทำให้เกิดการโค้งงอของลำตัว มีผลทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังเมื่อทำงานควบคู่กับครีบ
กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายปลา
1. กล้ามเนื้อลำตัว
เป็นกล้ามเนื้อลาย มีการจัดเรียงตัวกันเป็นตอนๆ เรียก ไมโอเมียร์ (Myomere) โดยแต่ละตอนมีเยื่อกั้นเรียก ไมโอเซพตัม (Myoseptum) กลุ่มของไมโอเมียร์เรียกไมโอโตม (Myotome) ถ้าตัดตามขวางของลำตัวจะพบว่าไมโอเมียร์เรียงซ้อนกันเป็นรูปกรวย แต่ถ้ามองทางด้านข้างเมื่อลอกเอาแผ่นหนังออกจะเห็นมัดกล้ามเนื้อมีลักษณะ เรียงตัวกันเป็นรูปซิกแซกจากหัวไปหาง การจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อลายในปลาปากกลมมีลักษณะเหมือนรูปนกบินตะแคงข้าง เรียกว่า ไซโคลสโตมิน (Cyclistomine) ส่วนการจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อในปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง เรียกว่า พิสซิน (Piscine) โดยมุมหักโค้งจะแหลมกว่าแบบแรก จำนวนมัดของไมโอเมียร์มักจะมีจำนวนเท่าๆ กับจำนวนก้างของกระดูกสันหลัง (Neural Spine)
ลักษณะการจัดเรียงตัวของมัดกล้ามเนื้อด้านข้างในปลา 3 กลุ่ม
กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ กล้ามเนื้อด้านบน (Epaxial Muscle Mass) และกล้ามเนื้อด้านล่าง (Hypaxial Muscle Mass) โดยมีเยื่อกั้นกลางตามยาว (Horizontal Skeletogenous Septum) บริเวณระหว่างกล้ามเนื้อทั้งสองนี้อาจมีกล้ามเนื้อแดง (Dark Muscle หรือ Red Muscle) ปกคลุมอยู่ กล้ามเนื้อด้านบนตรงส่วนหลังอาจมีเยื่อกั้นตามยาวลำตัว (Dorsal Skeletogenous Septum) ซึ่งแบ่งกล้ามเนื้อด้านบนออกเป็นซีกซ้ายและขวา
นอกจากกล้ามเนื้อด้านบนและด้านล่าง ซึ่งถือเป็นกล้ามเนื้อชั้นนอกแล้วยังมีกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไป (Deep Trunk Muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนน้อย ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก 2 มัด คือ
ก. ซูพราคารินาเลส (Supracarinales) เริ่มจากบริเวณกระดูกครีบอกทอดไปข้างบนตำแหน่งกลางหลังไปยังครีบหางใช้สำหรับงอตัวขึ้นข้างบน
ข. อินฟราคารินาเลส (Infracarinales) อยู่ทางด้านล่างตามความยาวลำตัว เริ่มจากคอหอยไปยังครีบหาง ใช้สำหรับงอตัวลงด้านล่างและเคลื่อนไหวกระดูกครีบท้องและครีบก้น
2. กล้ามเนื้อหัว
มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของขากรรไกร กระดูกกระพุ้งแก้ม และกระดูกเหงือก มีอยู่หลายมัด ซึ่งในปลาแต่ละชนิดจะมีกล้ามเนื้อไม่เหมือนกัน ในปลากระดูกแข็งมีอยู่หลายมัด ดังนี้
- แอ็ตดัคเตอร์ แมนดิบูลาริส (Adductor Mandibularis) เป็นมัดใหญ่ที่มีความสำคัญช่วยในการกัดกินอาหาร มีอยู่สองตอน คือ ส่วนเซพฟาลิค (Cephalic Portion) อยู่ที่แก้ม และส่วนแมนดิบูลาร์ (Mandibular Portion) อยู่ที่ขากรรไกรล่าง
- ไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล (Diliator Operculi) เป็นมัดที่อยู่เหนือ แอ็ตดัคเตอร์ แมนดิบูลาริส ขึ้นไป ทำหน้าที่ในการกางกระพุ้งแก้มออก
- ลีเวเตอร์ โอเพอร์คูไล (Levator Operculi) เป็นมัดที่อยู่เหนือไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล แต่อยู่ค่อนไปทางหาง ทำหน้าที่ในการหุบหรือปิดกระพุ้งแก้ม
- ลีเวเตอร์ อาร์คัส พาลาไทนี (Levator Arcus Palatini) แทรกอยู่ด้านหน้าระหว่างไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล กับส่วนเซพฟาลิคของแอ็คคัดเตอร์ แมนดิบูลาริส ทำหน้าที่ช่วยในการปิด-เปิดตา
- แอ็ตดัตเตอร์ อาร์คัส พาลาไทนี (Adductor Arcus Palatini) อยู่ภายในเบ้าตาติดกับเพดานปาก มีหน้าที่ช่วยดึงกระดูกกระพุ้งแก้ม และลดช่องว่างภายในช่องปากในการหายใจ
- แอ็ตดัคเตอร์ โอเพอร์คูไล (Adductor Operculi) อยู่ตอนบนของกระดูกกระพุ้งแก้มตรงด้านล่างของจุดสิ้นสุดของมัด ลีเวเตอร์ โอเพอร์คูไล มีหน้าที่ช่วยดึงกระดูกกระพุ้งแก้ม ลดช่องเหงือกระหว่างหายใจออก
3. กล้ามเนื้อครีบ
เป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ครีบพัดโบกไปในลักษณะต่างๆ ตามที่ปลาต้องการ โดยอาจทำให้ปลาเคลื่อนไหวไปข้างหน้าหรือทรงตัวนิ่งอยู่กับที่ก็ได้ แบ่งออกได้ดังนี้
3.1 กล้ามเนื้อครีบเดี่ยว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น โดยกล้ามเนื้อครีบหลังและครีบก้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้
3.1.1 กล้ามเนื้อชั้นบน (Superficial Muscle) มักอยู่เป็นคู่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
- โปรแทรกเตอร์ (Protractor Muscle) ทำหน้าที่ยกครีบให้ตั้งขึ้น
- รีแทรกเตอร์ (Retractor Muscle) ทำหน้าที่ดึงครีบให้หุบลง
- แลทเทอรอล อินคลินเนเตอร์ (Lateral Inclinator) ทำหน้าที่โค้งงอครีบ
3.1.2 กล้ามเนื้อชั้นล่าง (Internal Muscle)
เป็นชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไป พบที่ครีบหาง ประกอบด้วย
- ดอร์ซอล เฟลกเซอร์ (Dorsal Flexor) ทำหน้าที่งอและยกครีบขึ้น
- เวนทรอล เฟลกเซอร์ (Ventral Flexor) ทำหน้าที่หุบหรือลดครีบให้ต่ำลง
- อินเตอร์ฟิลาเมนต์ คอดาลิส (Interfilament Caudalis) ทำหน้าที่แผ่กางครีบออกและหุบครีบลงเข้ารูปเดิม
3.2 กล้ามเนื้อครีบคู่ อยู่ตรงบริเวณฐานของครีบอกและครีบท้อง มี 2 มัด คือ กล้ามเนื้อแอ็บดัคเตอร์ (Abductor Muscle) ช่วยในการพัดโพกครีบออกจากตัว และกล้ามเนื้อแอ็ดดัคเตอร์ (Adductor Muscle) ช่วยโบกครีบเข้าหาตัว
นอกจากกล้ามเนื้อดังกล่าวแล้ว บริเวณครีบท้องยังมีกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ อีกสองมัด มัดแรก อยู่หน้าครีบท้องไปทางด้านหัว เรียก โปรแทรกเตอร์ อีสซิไอ (Protractor Ischii) และมัดที่สองอยู่ด้านหลังครีบท้องไปทางรูทวารเรียก รีแทรกเตอร์ อีสซิไอ (Retractor Ischii) ส่วนครีบอกก็มีกล้ามเนื้ออีกสามมัดช่วยยึดกระดูกครีบอก (Pectoral Girdle) และช่วยในการเคลื่อนไหวครีบอกด้วย ได้แก่ แอ็ดดัคเตอร์ ซูเปอร์ฟิซียลิส (adductor Superficialis) แอ็ดดัคเตอร์ มีเดียลิส (Adductor Medialis) และแอ็ดดัคเตอร์ โปรฟันดัส (Adductor Profundus)
กล้ามเนื้อของก้านครีบ ก้านครีบแต่ละก้านจะมีกล้ามเนื้อช่วยยก กาง หรือหุบพับครีบลงสำหรับแต่ละก้านครีบอีกด้วย ได้แก่ กล้ามเนื้อ
- อีเรคเตอร์ (Erector Muscle) อยู่ด้านหน้าก้านครีบ ช่วยยกก้านครีบขึ้น
- ดีเพรสเซอร์ (Depressor Muscle) อยู่ด้านหลังก้านครีบ ช่วยหุบครีบลง
- อินคลิเนเตอร์ (Inclinator Muscle) อยู่ที่ก้างอินเตอร์นิวรอล (Inter Neural Spine) ของครีบหลัง หรือที่ก้างอินเตอร์ฮีมอล (Interhaemal Spine) ของครีบก้น
4. กล้ามเนื้อตา
เป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ตากรอกได้ มี 6 มัด แบ่งเป็น 2 หมู่ คือ
1) หมู่ดึงตรง (Rectus Muscle) อยู่บริเวณใกล้กับก้นกระบอกตา ได้แก่
- มัดบน (Superior Rectus) เกาะอยู่ด้านบนของลูกตา
- มัดล่าง (Inferior Rectus) เกาะอยู่ทางด้านท้องของลูกตา
- มัดหน้า (Anterior Rectus) เกาะอยู่ทางด้านหน้าของลูกตา
- มัดท้าย (Posterior Rectus) เกาะอยู่ทางด้านท้ายของลูกตา
2) หมู่ดึงทแยง (Oblique Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ทางด้านหน้าของกระบอกตา ได้แก่
- มัดบน (Superior Oblique) เกาะอยู่ด้านบนของลูกตา
- มัดล่าง (Inferior Oblique) เกาะอยู่ด้านล่างของลูกตา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)